วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปแผนผังความคิด


บันทึกการเรียนครั้งที่13🌎🌳🌞🌈

ความรู้ที่ได้รับ 

           จากสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายหน้าที่ให้ไปทำสื่อกลุ่มและสื่อเดี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย  วันนี้อาจารย์ได้นัดส่งสื่อทั้งหมด โดยอาจารย์ให้นำเสนอสื่อกลุ่มก่อน



การนำเสนอสื่อกลุ่ม 



🎇กลุ่มเครื่องกล " บ่อตกปลา "





🎇กลุ่มแสง " โรงละครหุ่นเงา "





🎇กลุ่มน้ำ " กังหันน้ำ "





🎇กลุ่มอากาศ  " ปืนอัดอากาศ "





🎇กลุ่มหินดินทราย " เครื่องกรองน้ำ "






🎇กลุ่มเสียง " กีตาร์ "










การนำเสนอสื่อเดี่ยว 



🎇กลุ่มเครื่องกล



  • คานดีด                
 ✏   คาน อาศัยหลักการของโมเมนต์ นั่นคือ เมื่อมีวัตถุที่เป็นของแข็งและจุดหมุนอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งบนคาน การออกแรง ณ จุดที่ห่างจากจุดหมุน จะเป็นการเพิ่มปริมาณของโมเมนต์ โดยมีมุมระหว่างแรงกระทำกับระยะห่างจากจุดหมุนเป็นอีกปัจจัยด้วย นั่นคือ โมเมนต์จะมากที่สุดเมื่อแรงกระทำตั้งฉากกับระยะห่าง
  • รถไขลาน              
✏   ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่



  • เรือใบพัด              
✏ ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่



  • กลิ้งลูกแก้วลงรู     
✏  วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน




จรวจ

✏ การพับเครื่องบินไม่ว่าจะเทคนิคอะไร ตัววีเหมือนจรวด มีหัว มีปีกลู่ไปด้านหลังแล้วพุ่งไปด้านหน้า แรงที่กระทำจะเหมือนเดิม แต่แรงแหวกอากาศจะดีกว่า การที่เครื่องบินกระดาษร่อนอยู่ในอากาศได้ยาวนานนั้น ไม่ว่าจะพับรูปแบบไหนผู้ร่อนต้องสังเกตขณะร่อน ทฤษฎีหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีจุดศูนย์ถ่วงหรือจุดรวมน้ำหนัก


🎇กลุ่มแสง



  • แผ่นซีดีหรรษา        
  • กล้องกลองแสง       
✏  หลักการทำงานของ แผ่นซีดีหรรษา  และ กล้องกลองแสง  มีหลักการคล้ายกันคือ แสงในธรรมชาติของเรา คือเเสงสีขาว ภายในแสงสีขาว จะมีสีต่างๆซ่อนอยู่ 7 สี เมื่อมีแสงมากระทบทำให้เราเห็นสีต่างๆ และแสงสีขาวที่เราเห็นเมื่อเรานำกระดาษสีเหลืองมา มันจะดูดแสงสีเหลืองทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆเป็นสีเหลือง


  • กล้องรูเข็ม            
✏   กล้องรูเข็มมีหลักการง่ายๆ คือ ให้แสงที่ตกกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาเดินทางผ่านรูเล็กๆ แสงจะตกกระทบฉากและแสดงภาพของวัตถุหัวกลับกับวัตถุที่แสงตกกระทบ

  • กล้องสลับราย         
  • กล้องละลานตา     
 ✏   เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง


🎇กลุ่มน้ำ




  • ขวดน้ำทอนาโด   
✏  การหมุนของน้ำและฟองอากาศเกิดจากการใช้แรงหมุนของข้อมือ แรงจากการหมุนข้อมือก่อให้เกิดแรงกระทำต่อน้ำในขวดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนววงกลมและและมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง ความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับจังหวะและแรงของการหมุนข้อมือ



  • เรือดำน้ำ              
 ✏  เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น

  • ทะเลในขวด          
✏   เมื่อสารต่างชนิดกันมารวมตัวกันมักจะทำปฎิกริยาที่ต่างกันคือจะแยกตัวกัน ซึ่งเมื่อโยกไปมา ทำให้เกิดเป็นคลื่นในทะเล และที่น้ำมันลอยขึ้นเหนือน้ำเนื่องจาก นำมันมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำ



  • ตู้กดน้ำจำลอง       
✏  เมื่อเปิดฝาขวดน้ำ ทำให้น้ำไหล เนื่องจากเราเปิดฝาขวดน้ำทำให้อากาศเข้ามาทำให้เกิดแรงดันอากาศ ดันน้ำให้ไหลออกเมื่อมีทางออก เมื่อปิดฝาน้ำจะหยุดไหล เนื่องจากอากาศเข้ามาไม่ได้ ทำให้ไม่เกิดแรงดันอากาศ



🎇กลุ่มอากาศ




  • โฮเวอร์คราฟ ลูกโป่ง      
✏  โฮเวอร์คราฟยกตัวขึ้นเพราะอากาศจากลูกโป่ง แผ่ออกระหว่างผิวพื้นกับผิวใต้ฐานของโฮเวอร์คราฟ มีผลให้แรงเสียดทานระหว่าง ผิวสัมผัสของฐานโฮเวอร์คราฟกับพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้โฮเวอร์คราฟ เคลื่อนที่ไปจนกว่าลูกโป่งจะแฟบ



  • ตุ๊กตาลมคืนชีพ            
✏   เป็นการทดสอบแรงดันอากาศ เมื่อดูดอากาศในแก้วอากาศในตัวแก้วจะลดลง ทำให้แรงดันอากาศจากข้างนอกที่มีมากกว่า มีแรงกระทำต่อถุง ทำให้ถุงยุบกลับเข้าไปในแก้ว ในขณะที่เราเป่า อากาศจากตัวเราก็เข้าไปในแก้วทำให้เพิ่มแรงดันภายในแก้ว ทำให้ถุงพลาสติกพองขึ้นมา



  • รถพลังลม                    
✏   หลักการทำงานสอดคล้องกับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน “แรงปฏิกิริยา มีขนาดเท่ากับแรงกิริยา”  นั้นคือแรงดันลมที่ออกจากลูกโป่งมีค่าเท่าใดก็จะมีแรงดันรถด้วยค่าเท่านั้น




  • เครื่องดูดจอมกวน        
✏   แรงดันอากาศ ขณะที่เราดูดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งแล้ว ลูกโป่งอีกหลอดพองกลับพองขึ้นนั้น เป็นเพราะว่าอากาศภายในขวดมีปริมาตรลดลง อากาศภายนอกมีแรงดันมากกว่าจึงไหลเข้ามาแทนที่หลอดที่มีลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งพองขึ้น แต่ถ้าเป่าหลอดที่มีลูกโป่ง แล้วปิดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งไว้ ลูกโป่งจะไม่พองก็เพราะว่าแรงดันอากาศภายในขวดมีมากทำให้เป่าได้ยากเมื่อเป่าแล้วแรงเป่าไม่พอที่จะทำให้อากาศออกไปได้ จึงทำให้ลูกโป่งไม่พองขึ้น


🎇กลุ่ม หิน ดิน ทราย 



  • ถาดหลุมหิน                         
✏   วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน



  • นาฬิกาทราย                        
✏    วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ



  • เครื่องเขย่าจากหิน               
  • เครื่องเคาะจังหวะจากทราย  
✏ เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง



🎇กลุ่มเสียง




  • แตรช้าง      
 ✏   เมื่อเป่าลมลงไปทำให้ลมวิ่งไปกระทบกับลูกโป่งที่ขึงเอาไว้ ทำให้ลูกโป่งสั่นสะเทือน ลมที่เราเป่าไปจะเกิดวังวนของอากาศภายในขวด ทำให้มีการสั่นสะเทือน และเกิดเสียงก้องกังวาล



  • ผลไม้หลากเสียง     
  • เครื่องเคาะจังหวะ     
  • เครื่องดนตรี              
 ✏  เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง
STEM 
คำว่า “ สะเต็ม ” หรือ “ STEM ” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่
วิทยาศาสตร์ (Science)
เทคโนโลยี (Technology)
วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
คณิตศาสตร์ (Mathematics)
หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการ ได้แก่
(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา

จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน

คำศัพท์ 
1. Science วิทยาศาสตร์
2. Technology เทคโนโลยี
3. Engineering วิศวกรรมศาสตร์
4. Mathematics คณิตศาสตร์
5. Slope ความลาดชัน

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์นั่งชมการนำเสนอผลงาน โดยไม่ขัดขณะที่นักศึกษานำเสนอผลงาน เมื่อนักศึกษานำเสนอเสร็จ อาจารย์จึงให้คำเสนอแนะ


ประเมินเพื่อน
 เพื่อนๆ นำเสนอผลงานของตนเองอย่างตั้งใจ และนำเสนองานได้อย่างเข้าใจง่าย


ประเมินตนเอง
ตั้้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน และตั้งใจฟังที่อาจารย์เสนอแนะ

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่12🌎🌳🌞🌈

🔮 กิจกรรม 🔮

วันนี้อาจารย์ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ โดยเป็นการไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วกลุ่มของเราเป็นกลุ่มสนับสนุน อาทิตย์นี้กลุ่มของพวกเราได้เป็นกลุ่มที่จัดการทดลอง และเพื่อนที่จัดการทดลองในอาทิตย์ที่แล้วก็สลับหน้าที่กันมาเป็นกลุ่มสนับสนุนในสัปดาห์นี้

กลุ่มของดิฉันมีกิจกรรมการทดลองที่มีชื่อว่า ลูกข่างหลากสี โดยกลุ่มของดิฉันจะเป็นการทดลองที่เป็นการประดิษฐ์ของเล่น ปัญหาที่เราพบคือ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้ว เด็กมีจำนวนน้อยกว่าอาทิตย์นี้ ทำให้จำนวนอุปกรณ์ที่เราเตรียมมาไม่พอกับจำนวนเด็กๆ เราจึงแก้ปัญหา ด้วยการให้เด็กจับคู่กัน และทำของเล่นร่วมกัน ส่วนลูกข่างที่ทำขึ้นมาก็เป็นของเล่นของศูนย์ เพื่อที่เด็กๆจะได้เล่นกันทุกคน





🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭


🔮 บรรยากาศภายในกิจกรรม 🔮















ประเมินอาจารย์
อาจารย์จะคอยดูๆการทำงานของพวกเรา เมื่อมีข้อผิดพลาด อารจาร์จะคอยช่วยเหลือ และแก้สถานะการณ์ให้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆบางคน แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ และผู้ตาม บางคนใงห้ความร่วมมือเต็มที่ แต่บางคนยังดูไม่เต็มที่กับการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง
มีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเยอะ เนื่องจากเราไม่ค่อยได้ลงสถานที่จริงมากพอทำให้มีประสบการณ์น้อย

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่11🌎🌳🌞🌈



💡กิจกรรม💡


วันนี้อาจารย์ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ โดยเป็นการไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วได้มีการจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มที่จัดกิจกรรมและ กลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มสนับสนุน ซึ่งในสัปดาห์นี้กลุ่มของดิฉันได้รับหน้าที่เป็นกลุ่มสนุบสนุม จะมีหน้าที่เป็นคนคอยให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมของเพื่อนๆ มีหน้าที่แบ่งกลุ่มเด็กๆ และ ดูแลเด็กๆในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรม 







💡 บรรยากาศในการทำกิจกรรม 💡














💡 การประเมิน 💡
ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์เปิดโอกาสให้ทำกิจกกรรมร่วมกับเด็กอย่างเต็มที่กและจะคอยแทรกวิธีการอยู่ร่วมกับเด็กอย่างเหมาะสม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ ตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ มีบ้างที่หลุดคำพูดที่ไม่เหมาะสม แต่ก็จะมีเพื่อนๆคอยพูดเตือนตลอด


ประเมินตนเอง
เนื่องจากเด็กที่มีจำนวนเยอะ แลเราไม่ค่อยได้ลงสถานที่จริง ทำให้การทำงานในช่วงแรกๆ ดูเป็นการทำงานที่ยาก เนื่องจากเราไม่ค่อยมีลูกเล่นที่จะเล่นกับเด็ก และทำใงห้เด็กสนใจ



วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่10🌎🌳🌞🌈

🌼 ความรู้ที่ได้รับ 🌼
วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำการทดลองอีกครั้งก่อนที่จะออกไปทำการทดลองกับเด็กๆ ในนสถานที่จริง เพื่อดูความพร้อมและหาข้อที่ต้องปรับปรุงของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง 


" การทดลองวิทยาศาสตร์จะมีสาระทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจหลัก 
และมีสาระทาง คณิตศาสตร์ + ภาษา เป็นเครื่องมือ"


🌸 กลุ่มที่ 1 : การแยกเกลือ พริกไทย 🌸




🌸 กลุ่มที่ 2 : ลูกโปร่งพองโต 🌸




🌸 กลุ่มที่ 3 : การลอยจมของน้ำมัน 🌸




🌸 กลุ่มที่ 4 : ภูเขาไฟลาวา 🌸




🌸 กลุ่มที่ 5 : โลกของแสงสีและรวดลายพิศวง 🌸





🌸 กลุ่มที่ 6 : ลูกข่างหลากสี 🌸





🌼 คำศัพท์ 🌼
1. Elastic potential energy พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
2. Mechanical energy พลังงานกล
3. Kinetic energy พลังงานจลน์
4. Mirage ภาพลวงตา
5. Image retention การคงอยู่ของภาพ


ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์คอยให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการพูดคุยกับเด็ก และการเก็บเด็ก รวมทั้งการตั้งคำถาม


ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆมีความตั้งใจ และคอยจดข้อเสนอแนะของอาจารย์ และคอยให้ข้อเสนอแนะแก่เพื่อน


ประเมินตนเอง
รับข้อเสนอแนะของอาจารย์และเพื่อน และคอยให้ข้อเสนอแก่เพื่อน

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่9🌎🌳🌞🌈



เข้าร่วมนิทรรศการ
เกี่ยวกับการฝึกสอน 
ของพี่ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย



โปรเจกต์ "เรือ"



ในวันนี้อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษามาหาความรู้นอกห้องเรียนและศึกษาความรู้จากรุ่นพี่ให้ได้มากที่สุด 









พี่ๆให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการฝึกสอนที่ได้ไปลงมือปฏิบัติจริงมา ว่าพวกเราจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ในการทำการฝึกสอน เพราะนักศึกษาเองต้องเป็นผู้ปรับตัวเข้าหาโรงเรียน




ต่อมาเป็นเรื่องของการจัดกิจกรรมโดยการใช้สื่อ เพื่อพัฒนาทักษะ ทั้ง 4 ด้าน ให้กับเด็กการสอบถามความคิดเห็นจากเด็กสิ่งที่เด็กๆอยากเรียนและนำมาจัดทำเป็นโปรเจคเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำแผนการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์




คำศัพท์
Elder พี่
Outside the classroom 
นอกห้องเรียน
Query สอบถาม
Develop พัฒนา
Take action ลงมือปฏิบัติ

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่8🌎🌳🌞🌈

เพื่อนๆแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม 
การทดลองทางวิทยาศาตร์


กลุ่มที่ 1 การทดลอง ลูกโป่งพองโต
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)เกิดขึ้นได้จากหลายวิธี แต่ประสิทธิภาพในการเกิดอาจแตกต่าง จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาเคมี เช่น เปลี่ยนปริมาณสารแต่ละชนิดหรือเปลี่ยนชนิดของสารตั้งต้น

ภาพรวมการทดลอง
มีสารตั้งต้นหลายชนิดที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ซึ่งเห็นได้จากการที่ลูกโป่งพอง ขนาดลูกโป่งที่พองออกแตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการเกิดก๊าซ CO2 จากสารแต่ละชนิด ในการทดลองนี้ต้องใช้ปริมาณสารตั้งต้นปริมาณของเหลว ชนิดและขนาดของลูกโป่งเหมือนกันมีเพียงชนิดของสารตั้งต้นเท่านั้นที่แตกต่างกัน

วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

· ลูกโป่งหลายใบ(ก่อนทดลองควรเป่าลมให้ลูกโป่งยืดออก)

· เบกกิ้งโซดา

· ผงยาลดกรด

· น้ำ

· ถ้วยหรือชามเล็ก

· ขวดแก้วปากแคบ

· กรวยกระดาษหรือพลาสติก

· ปากเคมี

· กรดมะนาว

· ผงฟู

· ช้อนชา

· ถ้วยตวงขนาดเล็ก

สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติม

· น้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว

· ของเหลวรสเปรี้ยว เช่น น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู

· กระดาษและปากกา


💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧

การทดลองที่ 2 ภูเขาไฟลาวา

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

เด็กส่วนใหญ่ชอบปั้นดินน้ำมัน ชอบมองดูก๊าซฟองฟูที่เกิดขึ้น สนใจลูกโป่งที่พองโต และชอบสีสันสดใส ซึ้งเด็กๆจะได้พบจากการทดลองสร้างภูเขาไฟจำลองลูกนี้

ภาพรวมการทดลอง

ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปภูเขาไฟ ทำปากปล่องภูเขาไฟ แล้วเทสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และสีผสมอาหารที่ทำให้คล้ายลาวาไหลออกมาจากปล่อง เทส่วนผสมต่างๆลงในปล่องภูเขาไฟตามลำดับ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างน้ำใต้ภูเขาไฟได้อีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

-เบกกิงโซดา

-น้ำมะนาว

-น้ำ

-สีผสมอาหาร

-น้ำยาล้างจาน

-ดินน้ำมัน

-ถาดหรือจานก้นลึก

-ชามและช้อนชา

-หลอดหยด

-แว่นขยาย

สำหรับการทดลองเพิ่มเติม

-ผงฟู แคลเซียมเม็ด ยาลดกรดชนิดผง

-น้ำมันพืช

-น้ำมะนาวและน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

-แก้วน้ำ

แนวคิดหลักของการทดลอง

เมื่อผสมเบกกิงโซดากับน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (กรด)

จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้น

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

การทดลองที่ 3 สนุกกับฟองสบู่

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

เด็กๆเคยเล่นหรือเป่าฟองสบู่เวลาอาบน้ำ เวลาช่วยคุณแม่ล้างจานหรือซักผ้าบ้างหรือไม่ แล้วฟองสบู่มีรูปร่างอย่างไร มีสีอะไร

ภาพรวมการทดลอง

ฟองสบู่เกิดจากการเป่าลมผ่านหลอดดูดลงในสารละลายน้ำสบู่ ซึ่งฟองสบู่ที่เกิดขึ้นจะอยู่ได้นานพอสมควร ทำให้สามารถพิจารณากระบวนการไหลของน้ำบริเวณผิวฟองสบู่ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังเพลิดเพลินกับความสวยงามของสีฟองสบู่ที่เกิดขึ้น เป็นอีกการทดลองหนึ่งที่เด็กๆชื่นชอบมาก

วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

· ชามขนาดใหญ่และเติมน้ำให้เต็ม

· ภาชนะพร้อมฝาปิด (ไม่ควรใช้ขวดน้ำ)

· ก้อนสำลี หรือลูกปิงปอง

· น้ำยาล้างจาน

· กลีเซอรีน (85%)

· น้ำ

สำหรับเด็กแต่ละคน

· จานรองกระถางต้นไม้ขนาด หรือชามใบเล็ก

· หลอดดูด 2 หลอด

· แว่นขยาย

💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚

การทดลองที่ 4 การแยกเกลือและพริกไทย

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

ปรากฏการณ์ หลายอย่างในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีสาเหตุมาจากไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าสถิตมีประโยชน์สำหรับเราเช่นกัน เช่น ถ้าเกลือและพริกไทยผสมกันอยู่ เราจะแยกสารทั้งสองชนิดนี้ออกจากกันอย่างไร

ภาพรวมการทดลอง


สร้างไฟฟ้าสถิตไทยเกิดขึ้น บนวัสดุที่เป็นพลาสติกและใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น แยกเกลือและพริกไทยออกจากกัน



วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

ผ้าขนสัตว์ (ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เป็นต้น)

เกลือเม็ด ขนาดปานกลาง

พริกไทยป่น

สำหรับเด็กแต่ละคน

ชามใบเล็กหรือจานลอง 2 ใบ

วัสดุสังเคราะห์ (เช่นช้อนพลาสติก)

วัสดุอื่นๆเช่น หวี ลูกโป่ง ไม้แขวนเสื้อพลาสติก ไม้บรรทัดชิ้นส่วนตัวต่อขนาดใหญ่ และแผ่นพลาสติกกันกระแทก1แผ่น

สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติม

กระชอนหรือที่กรองชา

ไม้ขีดไฟ

น้ำ 1 แก้วสำหรับดับไฟ

แก้วใส่น้ำเปล่า

กรวยพลาสติกและกระดาษกรอง

เตาไฟฟ้า

แก้วพร้อมฝาปิด

ช้อนโลหะขนาดเล็ก

ไม้หนีบผ้า




คำศัพท์ 
1. Test การทดลอง
2. Acid กรด
3. Pepper พริกไทย
4. Float ลอย
5. Sink จม






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้เสนองาน และคอยให้คำแนะนำ และบอกวิธีการตั้งคำถาม
 
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความสนใจกับงานของเพื่อนกลุ่มอื่นที่นำเสนอได้ดี 

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเพื่อน และ ตั้งใจนำเสนองานของตนเอง