ความรู้ที่ได้รับ
จากสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายหน้าที่ให้ไปทำสื่อกลุ่มและสื่อเดี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย วันนี้อาจารย์ได้นัดส่งสื่อทั้งหมด โดยอาจารย์ให้นำเสนอสื่อกลุ่มก่อน
การนำเสนอสื่อกลุ่ม
🎇กลุ่มเครื่องกล " บ่อตกปลา "
🎇กลุ่มแสง " โรงละครหุ่นเงา "
🎇กลุ่มน้ำ " กังหันน้ำ "
🎇กลุ่มอากาศ " ปืนอัดอากาศ "
🎇กลุ่มหินดินทราย " เครื่องกรองน้ำ "
🎇กลุ่มเสียง " กีตาร์ "
การนำเสนอสื่อเดี่ยว
🎇กลุ่มเครื่องกล
- คานดีด
- รถไขลาน
✏ ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
- เรือใบพัด
✏ ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
- กลิ้งลูกแก้วลงรู
✏ วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน
จรวจ
✏ การพับเครื่องบินไม่ว่าจะเทคนิคอะไร ตัววีเหมือนจรวด มีหัว มีปีกลู่ไปด้านหลังแล้วพุ่งไปด้านหน้า แรงที่กระทำจะเหมือนเดิม แต่แรงแหวกอากาศจะดีกว่า การที่เครื่องบินกระดาษร่อนอยู่ในอากาศได้ยาวนานนั้น ไม่ว่าจะพับรูปแบบไหนผู้ร่อนต้องสังเกตขณะร่อน ทฤษฎีหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีจุดศูนย์ถ่วงหรือจุดรวมน้ำหนัก
จรวจ
✏ การพับเครื่องบินไม่ว่าจะเทคนิคอะไร ตัววีเหมือนจรวด มีหัว มีปีกลู่ไปด้านหลังแล้วพุ่งไปด้านหน้า แรงที่กระทำจะเหมือนเดิม แต่แรงแหวกอากาศจะดีกว่า การที่เครื่องบินกระดาษร่อนอยู่ในอากาศได้ยาวนานนั้น ไม่ว่าจะพับรูปแบบไหนผู้ร่อนต้องสังเกตขณะร่อน ทฤษฎีหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีจุดศูนย์ถ่วงหรือจุดรวมน้ำหนัก
🎇กลุ่มแสง
- แผ่นซีดีหรรษา
- กล้องกลองแสง
✏ หลักการทำงานของ แผ่นซีดีหรรษา และ กล้องกลองแสง มีหลักการคล้ายกันคือ แสงในธรรมชาติของเรา คือเเสงสีขาว ภายในแสงสีขาว จะมีสีต่างๆซ่อนอยู่ 7 สี เมื่อมีแสงมากระทบทำให้เราเห็นสีต่างๆ และแสงสีขาวที่เราเห็นเมื่อเรานำกระดาษสีเหลืองมา มันจะดูดแสงสีเหลืองทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆเป็นสีเหลือง
- กล้องรูเข็ม
✏ กล้องรูเข็มมีหลักการง่ายๆ คือ ให้แสงที่ตกกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาเดินทางผ่านรูเล็กๆ แสงจะตกกระทบฉากและแสดงภาพของวัตถุหัวกลับกับวัตถุที่แสงตกกระทบ
- กล้องสลับราย
- กล้องละลานตา
✏ เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง
🎇กลุ่มน้ำ
- ขวดน้ำทอนาโด
✏ การหมุนของน้ำและฟองอากาศเกิดจากการใช้แรงหมุนของข้อมือ แรงจากการหมุนข้อมือก่อให้เกิดแรงกระทำต่อน้ำในขวดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนววงกลมและและมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง ความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับจังหวะและแรงของการหมุนข้อมือ
- เรือดำน้ำ
✏ เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น
- ทะเลในขวด
✏ เมื่อสารต่างชนิดกันมารวมตัวกันมักจะทำปฎิกริยาที่ต่างกันคือจะแยกตัวกัน ซึ่งเมื่อโยกไปมา ทำให้เกิดเป็นคลื่นในทะเล และที่น้ำมันลอยขึ้นเหนือน้ำเนื่องจาก นำมันมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำ
- ตู้กดน้ำจำลอง
✏ เมื่อเปิดฝาขวดน้ำ ทำให้น้ำไหล เนื่องจากเราเปิดฝาขวดน้ำทำให้อากาศเข้ามาทำให้เกิดแรงดันอากาศ ดันน้ำให้ไหลออกเมื่อมีทางออก เมื่อปิดฝาน้ำจะหยุดไหล เนื่องจากอากาศเข้ามาไม่ได้ ทำให้ไม่เกิดแรงดันอากาศ
🎇กลุ่มอากาศ
- โฮเวอร์คราฟ ลูกโป่ง
✏ โฮเวอร์คราฟยกตัวขึ้นเพราะอากาศจากลูกโป่ง แผ่ออกระหว่างผิวพื้นกับผิวใต้ฐานของโฮเวอร์คราฟ มีผลให้แรงเสียดทานระหว่าง ผิวสัมผัสของฐานโฮเวอร์คราฟกับพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้โฮเวอร์คราฟ เคลื่อนที่ไปจนกว่าลูกโป่งจะแฟบ
- ตุ๊กตาลมคืนชีพ
✏ เป็นการทดสอบแรงดันอากาศ เมื่อดูดอากาศในแก้วอากาศในตัวแก้วจะลดลง ทำให้แรงดันอากาศจากข้างนอกที่มีมากกว่า มีแรงกระทำต่อถุง ทำให้ถุงยุบกลับเข้าไปในแก้ว ในขณะที่เราเป่า อากาศจากตัวเราก็เข้าไปในแก้วทำให้เพิ่มแรงดันภายในแก้ว ทำให้ถุงพลาสติกพองขึ้นมา
- รถพลังลม
✏ หลักการทำงานสอดคล้องกับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน “แรงปฏิกิริยา มีขนาดเท่ากับแรงกิริยา” นั้นคือแรงดันลมที่ออกจากลูกโป่งมีค่าเท่าใดก็จะมีแรงดันรถด้วยค่าเท่านั้น
- เครื่องดูดจอมกวน
✏ แรงดันอากาศ ขณะที่เราดูดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งแล้ว ลูกโป่งอีกหลอดพองกลับพองขึ้นนั้น เป็นเพราะว่าอากาศภายในขวดมีปริมาตรลดลง อากาศภายนอกมีแรงดันมากกว่าจึงไหลเข้ามาแทนที่หลอดที่มีลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งพองขึ้น แต่ถ้าเป่าหลอดที่มีลูกโป่ง แล้วปิดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งไว้ ลูกโป่งจะไม่พองก็เพราะว่าแรงดันอากาศภายในขวดมีมากทำให้เป่าได้ยากเมื่อเป่าแล้วแรงเป่าไม่พอที่จะทำให้อากาศออกไปได้ จึงทำให้ลูกโป่งไม่พองขึ้น
🎇กลุ่ม หิน ดิน ทราย
- ถาดหลุมหิน
✏ วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน
- นาฬิกาทราย
✏ วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ
- เครื่องเขย่าจากหิน
- เครื่องเคาะจังหวะจากทราย
✏ เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง
🎇กลุ่มเสียง
- แตรช้าง
✏ เมื่อเป่าลมลงไปทำให้ลมวิ่งไปกระทบกับลูกโป่งที่ขึงเอาไว้ ทำให้ลูกโป่งสั่นสะเทือน ลมที่เราเป่าไปจะเกิดวังวนของอากาศภายในขวด ทำให้มีการสั่นสะเทือน และเกิดเสียงก้องกังวาล
- ผลไม้หลากเสียง
- เครื่องเคาะจังหวะ
- เครื่องดนตรี
✏ เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง
STEM คำว่า “ สะเต็ม ” หรือ “ STEM ” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่
วิทยาศาสตร์ (Science)
เทคโนโลยี (Technology)
วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
คณิตศาสตร์ (Mathematics)
หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการ ได้แก่
(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา
จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
คำศัพท์
1. Science วิทยาศาสตร์
2. Technology เทคโนโลยี
3. Engineering วิศวกรรมศาสตร์
4. Mathematics คณิตศาสตร์
5. Slope ความลาดชัน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์นั่งชมการนำเสนอผลงาน โดยไม่ขัดขณะที่นักศึกษานำเสนอผลงาน เมื่อนักศึกษานำเสนอเสร็จ อาจารย์จึงให้คำเสนอแนะ
ประเมินเพื่อน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ นำเสนอผลงานของตนเองอย่างตั้งใจ และนำเสนองานได้อย่างเข้าใจง่าย
ประเมินตนเอง
ประเมินตนเอง
ตั้้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน และตั้งใจฟังที่อาจารย์เสนอแนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น