วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่3🌎🌳🌞🌈

💙กิจกรรมที่ 💙
อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาทุกคน

แบ่งกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมายพร้อมสรุปรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตนเองให้เป็นบทความของกลุ่มตนเอง







กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ "เสียง"

🎺แหล่งที่มาของการเกิดเสียง🎷
แบ่งได้เป็น4 อย่าง
1.เสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ได้แก่ การกระทบของน้ำกับก้อนหิน
เสียงจากลมพัดใบหญ้า เสียงฝนตก เสียงฟ้าผ่า เสียงคลื่นทะเล เสียงต้นไม้เสียดสีกัน
2.เสียงที่เกิดขึ้นจากสัตว์ หมายถึง เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ
3.เสียงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ หมายถึง การกระทำของมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ เสียงจากการเป่าริมฝีปาก เสียงจากการปรบมือ เสียงจากการย่ำเท้า เป็นต้น
4.เสียงที่เกิดจากการบรรเลง หมายถึง การที่มนุษย์นำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียง

💆คุณสมบัติของเสียง💆
เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ
1.การสะท้อน
2.การหักเห
3.การสอดแทรก

4.การเลี้ยวเบ

🙋ประเภทของเสียง🙋

1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise)
เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non steady state Noise)
1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non-steady state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเสียงเปลี่ยนแปลง
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise)
3. เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) 




ประโยชน์ของเสียง
1.เสียงด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม
2.ด้านการแพทย์
3.ด้านการประมงค์และสำรวจใต้น้ำ
4. ด้านสถาปัตยกรรม
5. ด้านธรณีวิทยา


มลพิษทางเสียงมีอันตรายต่อสุขภาพและระบบการได้ยินดังนี้
1) อันตรายต่อระบบการได้ยิน การได้ฟังเสียงที่ดังเป็นเวลานานๆ ส่งผลทำลายเซลล์ประสาทของหู และเกิดผลเสียต่อการได้ยินดังนี้
(1) หูตึงหรือหูอื้อชั่วคราว คืออาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากเสียงที่ดังนั้นยังไม่ดังมากและนานพอที่จะทำลายเซลล์ประสาทของหูได้อย่างง่ายดาย
(2) หูตึงหรือหูหนวกอย่างถาวรคือ อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากได้ฟังเสียงที่ดังมากเกินไปจนทำลายเซลล์ประสาทหูไปอย่างถาวรและไม่สามารถกลับมาได้ยินเหมือนเดิม
(3) หูตึงหรือหูอื้อแบบเฉียบพลัน คือ อาการหูหนวกอย่างเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการได้รับฟังเสียงที่ดังเกินไปจนทำให้แก้วหูฉีกขาด เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด

2)อันตรายต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ
เช่น เสียงที่ดังเกินไปจะรบกวนการนอนหลับและการพักผ่อน ส่งผลทำให้หงุดหงิด มีความเครียด อีกทั้งยังรบกวนการทำงานทำให้งานมีประสิทธิภาพด้อยลง และเสียงดังมากๆ ยังทำให้ความดันสูง เกิดโรคหัวใจ ชีพจรเต้นผิดปกติ เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง มีดังนี้
1). กำหนดและบังคับใช้มาตรฐานระดับความดังในสถานที่ต่างๆไม้ให้เกินค่ามาตรฐาน เพื่อลดอันตรายของเสียงที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและการได้ยิน

2). ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียง เช่น ควบคุมเสียงที่เกิดจากยานพาหนะ โดยผู้ใช้รถทุกคันต้องตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ของตนให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ดัดแปลงท่อไอเสียให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น โรงภาพยนตร์และสถานบันเทิงไม่ควรเปิดเสียงเครื่องเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมควรเลือกใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือต่างๆที่เกิดเสียงดังรบกวนน้อยที่สุด

3). สำรวจและตรวจสอบตามแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดมลพิษทางเสียง

4). หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งที่เสียงดังเป็นเวลานานๆ แต่หากถ้าจำเป็นต้องอยู่หรือต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังมากๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันหู เช่นที่ครอบหู ที่อุดหู เพื่อลดอันตรายจากความดังของเสียง

💚กิจกรรมที่  💚
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมููลของกลุ่มตนเองผ่านการพิมพ์ข้อมูลจากนั้นได้ให้คำแนะนำและบอกวิธีที่จะใช้สำหรับสอนเด็กปฐมวัย

💜กิจกรรมที่ ⓷ 💜
อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาคิดของเล่นที่มาจากเรื่องของกลุ่มตนเองให้ดูน่าสนใจ
หลากหลายและไม่ซ้ำกันและจัดทำของเล่นมาส่งในคาบหน้า


คำศัพท์
Danger อันตราย
Sound เสียง
Survey สำรวจ
Health สุขภาพ
Nature ธรรมชาติ

ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้เกี่ยวกับ น้ำ ดิน เครื่องกล แสง เสียง ที่จะนำไปสอนเด็กระดับปฐมวัย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลามีการใช้เทคโนโลยีในการสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนมีเสียงดังบ้างนิดหน่อย

ประเมินตนเอง
ดิฉันเข้าเรียนช้านิดหน่อย แต่ตั้งใจทำกิจกรรมเพื่อที่จะนำเสนอให้อาจารย์ฟังและเพื่อให้ตนเองทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรียนได้ดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น