วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่5🌎🌳🌞🌈


👱ศึกษาศาสตร์วิชาการ👱







👶กิจกรรมของสาขาการศึกษาปฐมวัย👶

 1.กิจกรรมการให้ความรู้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับในหลวงกับการศึกษาไทย การจัดการศึกษาปฐมวัย 
ความเป็นมาของการศึกษาปฐมวัย 
2.เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสจากความคุ้นเคย(ประสบการ์เดิม) ได้แก่
     1)กิจกรรมการดมกลิ่นปริศนา 
     2)กิจกรรมสัมผัสของในกล่อง 
     3)กิจกรรมปิดตาชิม 
     4)กิจกรรมจำภาพให้ได้ภายใน10วินาที







💧กิจกรรมของสาขาพลศึกษา💧 
1.กิจกรรมเกมส์ชิงธง
2.กิจกรรมเกมส์โยนห่วงหรรษา 
3.กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายและแจกถุงยางอนามัยให้กับนักศึกษาชาย ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศไม่น่าอาย 
4.การให้ความรู้ถึงประวัติของพละศึกษาในประเทศไทย








💥กิจกรรมสาขาจิตวิทยา 💥
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวก ได้แก่ 
แนวคิดจิตวิทยา เทคนิคพัฒนาความสุขตามแนวคิดจิตวิทยา 
2.กิจกรรมจับไข่แล้วตอบคำถาม




👿กิจกรรมของสาขาเทคโนโลยีการศึกษา👿
และคอมพิวเตอร์
กิจกรรมการตอบคำถามเกมส์ quizizz โดยมีการแบ่งคำถามเป็นหมวดหมู่ เช่น ภาษาไทย ศิลปะ พลศึกษา ภาษาอังกฤษ เป็นต้น และมอบของรางวัลให้กับผู้ที่ตอบคำถามได้เร็วและถูกต้องที่สุด





คำศัพท์
❶Puzzle ปริศนา
❷Smell กลิ่น
❸Touch สัมผัส
❹History ประวัติ
❺Flag ธง


วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่4🌎🌳🌞🌈

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งชาติประจำปี 2562

🌎🌵⛅🌳🐋

ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม
อิมแพ็คเมืองทองธานี (Hall 6-12) 


เริ่มแรก เข้าไปในงานก็จะมีสติ๊กเกอร์สีเขียวแบบนี้แจกให้คนละ 1 ดวง

มาถึงกิจกรรมภายในงานกันค่ะ



มหัศจรรย์เมืองแห่งธาตุ
นำเสนอ "ธาตุ" ตามสมบัติที่โดดเด่น
ของหมวดหมู่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน 
ในบรรยากาศตื่นตาตื่นใจที่แสดงถึงลักษณะ 
และสมบัติของธาตุที่โดดเด่นในหมวดหมู่นั้น ๆ 


นิทรรศการดินแดนมหัศจรรย์แห่งการอ่าน 
TK Miracle Park 
นำเสนอให้เห็นความสำคัญของการอ่านเพื่อกลับไปหาความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการสั่งสมมาอย่างยาวนาน แล้วนำไปต่อยอดสู่ความรู้ใหม่ๆ การสำรวจความรู้ตั้งแต่นอกโลกจนถึงตัวเรา กับความรู้ 4 ด้าน คือ โลกและอวกาศ ร่างกาย อาหาร และวิทยาศาสตร์ทั่วไป แล้วเชื่อมแรงบันดาลใจจากบุคคลสำคัญ ต่อยอดกล่องความรู้ให้กลายเป็นสิ่งใหม่ ผ่านหลากหลายรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 



ย้อนอดีตสิ่งประดิษฐ์พลิกความคิดสู่อนาคต
นิทรรศการและกิจกรรมนำเสนอถึงการย้อนไปในอดีตของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยน เรียนรู้วิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์



พลาสติกพลิกโลก

ทุกคนสามารถร่วมมือกันแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้โดยเริ่มที่ตัวเราเพียงใช้อย่างเหมาะสม 
ใช้เท่าที่จำเป็น และจัดการอย่างถูกวิธี 
ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ข้าวคือชีวิต

นำเสนอความสำคัญของข้าวต่อการดำรงชีวิต
ของมนุษย์ในเขตภูมิภาคหนึ่งของโลก




นิทรรศการเทิดพระเกียรติ
จัดแสดง พระอัจฉริยภาพ 
“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พระอัจฉริยภาพ
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เป็นคุณูปการต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาของประเทศไทย





การแสดงการทดลองทางวิทยาศาสตร์




การหมุนเวียนของบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ
ที่เราใช้ในชิวิตประจำวันที่สามารถนำมาแปรรูปได้



กิจกรรม เล่น เรียน รู้ 
ของเล่นประเภทเสียง "กบไม้" และ "กังหันหมุน"

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่3🌎🌳🌞🌈

💙กิจกรรมที่ 💙
อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาทุกคน

แบ่งกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมายพร้อมสรุปรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตนเองให้เป็นบทความของกลุ่มตนเอง







กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ "เสียง"

🎺แหล่งที่มาของการเกิดเสียง🎷
แบ่งได้เป็น4 อย่าง
1.เสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ได้แก่ การกระทบของน้ำกับก้อนหิน
เสียงจากลมพัดใบหญ้า เสียงฝนตก เสียงฟ้าผ่า เสียงคลื่นทะเล เสียงต้นไม้เสียดสีกัน
2.เสียงที่เกิดขึ้นจากสัตว์ หมายถึง เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ
3.เสียงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ หมายถึง การกระทำของมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ เสียงจากการเป่าริมฝีปาก เสียงจากการปรบมือ เสียงจากการย่ำเท้า เป็นต้น
4.เสียงที่เกิดจากการบรรเลง หมายถึง การที่มนุษย์นำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียง

💆คุณสมบัติของเสียง💆
เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ
1.การสะท้อน
2.การหักเห
3.การสอดแทรก

4.การเลี้ยวเบ

🙋ประเภทของเสียง🙋

1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise)
เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non steady state Noise)
1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non-steady state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเสียงเปลี่ยนแปลง
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise)
3. เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) 




ประโยชน์ของเสียง
1.เสียงด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม
2.ด้านการแพทย์
3.ด้านการประมงค์และสำรวจใต้น้ำ
4. ด้านสถาปัตยกรรม
5. ด้านธรณีวิทยา


มลพิษทางเสียงมีอันตรายต่อสุขภาพและระบบการได้ยินดังนี้
1) อันตรายต่อระบบการได้ยิน การได้ฟังเสียงที่ดังเป็นเวลานานๆ ส่งผลทำลายเซลล์ประสาทของหู และเกิดผลเสียต่อการได้ยินดังนี้
(1) หูตึงหรือหูอื้อชั่วคราว คืออาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากเสียงที่ดังนั้นยังไม่ดังมากและนานพอที่จะทำลายเซลล์ประสาทของหูได้อย่างง่ายดาย
(2) หูตึงหรือหูหนวกอย่างถาวรคือ อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากได้ฟังเสียงที่ดังมากเกินไปจนทำลายเซลล์ประสาทหูไปอย่างถาวรและไม่สามารถกลับมาได้ยินเหมือนเดิม
(3) หูตึงหรือหูอื้อแบบเฉียบพลัน คือ อาการหูหนวกอย่างเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการได้รับฟังเสียงที่ดังเกินไปจนทำให้แก้วหูฉีกขาด เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด

2)อันตรายต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ
เช่น เสียงที่ดังเกินไปจะรบกวนการนอนหลับและการพักผ่อน ส่งผลทำให้หงุดหงิด มีความเครียด อีกทั้งยังรบกวนการทำงานทำให้งานมีประสิทธิภาพด้อยลง และเสียงดังมากๆ ยังทำให้ความดันสูง เกิดโรคหัวใจ ชีพจรเต้นผิดปกติ เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง มีดังนี้
1). กำหนดและบังคับใช้มาตรฐานระดับความดังในสถานที่ต่างๆไม้ให้เกินค่ามาตรฐาน เพื่อลดอันตรายของเสียงที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและการได้ยิน

2). ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียง เช่น ควบคุมเสียงที่เกิดจากยานพาหนะ โดยผู้ใช้รถทุกคันต้องตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ของตนให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ดัดแปลงท่อไอเสียให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น โรงภาพยนตร์และสถานบันเทิงไม่ควรเปิดเสียงเครื่องเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมควรเลือกใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือต่างๆที่เกิดเสียงดังรบกวนน้อยที่สุด

3). สำรวจและตรวจสอบตามแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดมลพิษทางเสียง

4). หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งที่เสียงดังเป็นเวลานานๆ แต่หากถ้าจำเป็นต้องอยู่หรือต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังมากๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันหู เช่นที่ครอบหู ที่อุดหู เพื่อลดอันตรายจากความดังของเสียง

💚กิจกรรมที่  💚
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมููลของกลุ่มตนเองผ่านการพิมพ์ข้อมูลจากนั้นได้ให้คำแนะนำและบอกวิธีที่จะใช้สำหรับสอนเด็กปฐมวัย

💜กิจกรรมที่ ⓷ 💜
อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาคิดของเล่นที่มาจากเรื่องของกลุ่มตนเองให้ดูน่าสนใจ
หลากหลายและไม่ซ้ำกันและจัดทำของเล่นมาส่งในคาบหน้า


คำศัพท์
Danger อันตราย
Sound เสียง
Survey สำรวจ
Health สุขภาพ
Nature ธรรมชาติ

ความรู้ที่ได้รับ
ความรู้เกี่ยวกับ น้ำ ดิน เครื่องกล แสง เสียง ที่จะนำไปสอนเด็กระดับปฐมวัย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลามีการใช้เทคโนโลยีในการสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนมีเสียงดังบ้างนิดหน่อย

ประเมินตนเอง
ดิฉันเข้าเรียนช้านิดหน่อย แต่ตั้งใจทำกิจกรรมเพื่อที่จะนำเสนอให้อาจารย์ฟังและเพื่อให้ตนเองทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรียนได้ดี


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่2🌎🌳🌞🌈

🌟กิจกรรมแรก🌟
อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษา 
ตอบคำถามคือ 
"นักศึกษาคิดว่าเด็กปฐมวัย 
ควรจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องอะไรบ้าง"


🌟กิจกรรมที่ 2🌟
อาจารย์ให้ทำท่ามือข้างหนึ่งกำ 
ส่วนมืออีกข้างหนึ่งแบไว้แล้วร้องเพลง
🌹ซึ่งเป็นการสอนแบบอนุกรม

🌈สิ่งที่ได้รับ🌈
จากวิธีการเรียนแบบนี้
💙การใช้เพลงเป็นสื่อที่ส่งเสริมของการทำงานของสมองทั้งสองซีก
💚การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาใช้ในการเป็นเครื่องมือซึ่งมีความสอดคล้องกับพัฒนาการหรือความสามารถของเด็ก

ซึมซับ👉 รับรู้ 👉  ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
👉  ทำให้เกิดการเรียนรู้  👉เพื่อการอยู่รอด



💎จากนั้นอาจารย์ยังให้ความรู้อีกว่า💎
การเรียนรู้คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5(การเล่น) เป็นเครื่องมือในการให้เด็กได้รับรู้เมื่อเกิดการรับรู้ แล้วเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น 
แสดงว่าเด็กได้เกิดการเรียนรู้ขึ้น



🐥คำศัพท์🐥
Structure  โครงสร้าง
sing  ร้องเพลง
Consistent  สอดคล้อง
behavior  พฤติกรรม
the device  เครื่องมือ



🐸ความรู้ที่ได้รับ🐸
ได้เข้าใจถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะต้องนำไปสอนเด็กในระดับปฐมวัย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย มีการใช้โซเชียวมิเดียเข้ามาในการสอน 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเข้าเรียนสายบางคนแต่ตั้งใจฟังและตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุกสนาน

ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันเข้าเรียนสายนิดหน่อย แต่ตัั้งใจเรียนและบันทึกที่อาจารย์สอนตลอดทั้ังคาบ


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ

บทความ: เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย 
“เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” 
กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว

พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ล่าสุด สสวท. ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านนิทาน” ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท.


ในการอบรมครั้งนี้ ครูได้พบตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน

นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ ?
“การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง

เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป

เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง


นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”

ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด
นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้

สรุปวิจัย

ความมุ่งหมายงานวิจัย
เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้คือเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2554 

สรุปตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





  ครูรจนา สอนเรื่องไข่ดีมีประโยชน์
เพื่อให้นักเรียนสามารถรู้เบื้องต้นทั้งเรื่องของชนิดของไข่ ส่วนประกอบของไข่  บอกชื่อของไข่และทำอาหารง่าย ๆ ที่มาจากไข่พร้อมทั้งฝึกทักษะทางภาษา และที่สำคัญทำให้เด็กได้เกิดความเข้าใจทางธรรมชาติว่าไข่สามารถทำให้กลายเป็นลูกเจี๊ยบตัวเล็กๆและเจริญเติบโตกลายเป็นไก่ตัวใหญ่ขึ้นได้