วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่8🌎🌳🌞🌈

เพื่อนๆแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม 
การทดลองทางวิทยาศาตร์


กลุ่มที่ 1 การทดลอง ลูกโป่งพองโต
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)เกิดขึ้นได้จากหลายวิธี แต่ประสิทธิภาพในการเกิดอาจแตกต่าง จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาเคมี เช่น เปลี่ยนปริมาณสารแต่ละชนิดหรือเปลี่ยนชนิดของสารตั้งต้น

ภาพรวมการทดลอง
มีสารตั้งต้นหลายชนิดที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ซึ่งเห็นได้จากการที่ลูกโป่งพอง ขนาดลูกโป่งที่พองออกแตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการเกิดก๊าซ CO2 จากสารแต่ละชนิด ในการทดลองนี้ต้องใช้ปริมาณสารตั้งต้นปริมาณของเหลว ชนิดและขนาดของลูกโป่งเหมือนกันมีเพียงชนิดของสารตั้งต้นเท่านั้นที่แตกต่างกัน

วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

· ลูกโป่งหลายใบ(ก่อนทดลองควรเป่าลมให้ลูกโป่งยืดออก)

· เบกกิ้งโซดา

· ผงยาลดกรด

· น้ำ

· ถ้วยหรือชามเล็ก

· ขวดแก้วปากแคบ

· กรวยกระดาษหรือพลาสติก

· ปากเคมี

· กรดมะนาว

· ผงฟู

· ช้อนชา

· ถ้วยตวงขนาดเล็ก

สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติม

· น้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว

· ของเหลวรสเปรี้ยว เช่น น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู

· กระดาษและปากกา


💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧

การทดลองที่ 2 ภูเขาไฟลาวา

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

เด็กส่วนใหญ่ชอบปั้นดินน้ำมัน ชอบมองดูก๊าซฟองฟูที่เกิดขึ้น สนใจลูกโป่งที่พองโต และชอบสีสันสดใส ซึ้งเด็กๆจะได้พบจากการทดลองสร้างภูเขาไฟจำลองลูกนี้

ภาพรวมการทดลอง

ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปภูเขาไฟ ทำปากปล่องภูเขาไฟ แล้วเทสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์และสีผสมอาหารที่ทำให้คล้ายลาวาไหลออกมาจากปล่อง เทส่วนผสมต่างๆลงในปล่องภูเขาไฟตามลำดับ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างน้ำใต้ภูเขาไฟได้อีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

-เบกกิงโซดา

-น้ำมะนาว

-น้ำ

-สีผสมอาหาร

-น้ำยาล้างจาน

-ดินน้ำมัน

-ถาดหรือจานก้นลึก

-ชามและช้อนชา

-หลอดหยด

-แว่นขยาย

สำหรับการทดลองเพิ่มเติม

-ผงฟู แคลเซียมเม็ด ยาลดกรดชนิดผง

-น้ำมันพืช

-น้ำมะนาวและน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

-แก้วน้ำ

แนวคิดหลักของการทดลอง

เมื่อผสมเบกกิงโซดากับน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (กรด)

จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้น

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

การทดลองที่ 3 สนุกกับฟองสบู่

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

เด็กๆเคยเล่นหรือเป่าฟองสบู่เวลาอาบน้ำ เวลาช่วยคุณแม่ล้างจานหรือซักผ้าบ้างหรือไม่ แล้วฟองสบู่มีรูปร่างอย่างไร มีสีอะไร

ภาพรวมการทดลอง

ฟองสบู่เกิดจากการเป่าลมผ่านหลอดดูดลงในสารละลายน้ำสบู่ ซึ่งฟองสบู่ที่เกิดขึ้นจะอยู่ได้นานพอสมควร ทำให้สามารถพิจารณากระบวนการไหลของน้ำบริเวณผิวฟองสบู่ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังเพลิดเพลินกับความสวยงามของสีฟองสบู่ที่เกิดขึ้น เป็นอีกการทดลองหนึ่งที่เด็กๆชื่นชอบมาก

วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

· ชามขนาดใหญ่และเติมน้ำให้เต็ม

· ภาชนะพร้อมฝาปิด (ไม่ควรใช้ขวดน้ำ)

· ก้อนสำลี หรือลูกปิงปอง

· น้ำยาล้างจาน

· กลีเซอรีน (85%)

· น้ำ

สำหรับเด็กแต่ละคน

· จานรองกระถางต้นไม้ขนาด หรือชามใบเล็ก

· หลอดดูด 2 หลอด

· แว่นขยาย

💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚

การทดลองที่ 4 การแยกเกลือและพริกไทย

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

ปรากฏการณ์ หลายอย่างในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีสาเหตุมาจากไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าสถิตมีประโยชน์สำหรับเราเช่นกัน เช่น ถ้าเกลือและพริกไทยผสมกันอยู่ เราจะแยกสารทั้งสองชนิดนี้ออกจากกันอย่างไร

ภาพรวมการทดลอง


สร้างไฟฟ้าสถิตไทยเกิดขึ้น บนวัสดุที่เป็นพลาสติกและใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น แยกเกลือและพริกไทยออกจากกัน



วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

ผ้าขนสัตว์ (ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เป็นต้น)

เกลือเม็ด ขนาดปานกลาง

พริกไทยป่น

สำหรับเด็กแต่ละคน

ชามใบเล็กหรือจานลอง 2 ใบ

วัสดุสังเคราะห์ (เช่นช้อนพลาสติก)

วัสดุอื่นๆเช่น หวี ลูกโป่ง ไม้แขวนเสื้อพลาสติก ไม้บรรทัดชิ้นส่วนตัวต่อขนาดใหญ่ และแผ่นพลาสติกกันกระแทก1แผ่น

สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติม

กระชอนหรือที่กรองชา

ไม้ขีดไฟ

น้ำ 1 แก้วสำหรับดับไฟ

แก้วใส่น้ำเปล่า

กรวยพลาสติกและกระดาษกรอง

เตาไฟฟ้า

แก้วพร้อมฝาปิด

ช้อนโลหะขนาดเล็ก

ไม้หนีบผ้า




คำศัพท์ 
1. Test การทดลอง
2. Acid กรด
3. Pepper พริกไทย
4. Float ลอย
5. Sink จม






ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้เสนองาน และคอยให้คำแนะนำ และบอกวิธีการตั้งคำถาม
 
ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความสนใจกับงานของเพื่อนกลุ่มอื่นที่นำเสนอได้ดี 

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังเพื่อน และ ตั้งใจนำเสนองานของตนเอง

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่7🌎🌳🌞🌈


ความรู้ที่ได้รับ 
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมในสัปดาห์ที่แล้วว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 13 ทักษะ
โดยแยกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

 ทักษะพื้นฐานมีทั้งหมด 8 ทักษะ

1. ทักษะการสังเกตุ
2. ทักษะการวัด
3. ทักษะการใช้ตัวเลข
4. ทักษะการจำแนกประเภท
5. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปคกับสเปค และ สเปคกับเวลา
6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
7. ทักษะการลงความคิดเห็น
8. ทักษะการพยากรณ์


ทักษะขั้นสูง 5 ทักษะ
1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
2. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
3. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
4. ทักษะการทดลอง
5. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล


💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗



💙กิจกรรมที่1 วาดรูปแหล่งน้ำที่รู้จัก💙












สาระที่ได้
-วิทยาศาสตร์คือการที่เด็กได้สังเกตสิ่งรอบรอบตัว
-ภาษาการใช้ภาษาในการพูดอธิบายการใช้คำศัพท์ในการแผนภาพการฟังเพื่อนอธิบายการอ่านการอ่านภาพและดูตัวอย่างการเขียนการเขียนการเขียนภาพและการเขียนชื่อภาพ
-ศิลปะในเรื่องของการคิดจินตนาการถ่ายทอดการคิดผ่านงานศิลปะ
-คณิตศาสตร์เรื่องของเวลาและรูปเรขาคณิต
ด้านภูมิศาสตร์
-การทำงานร่วมกันเป็นทีมการพูดคุยการ


กิจกรรมที่ 2 สร้างแท๊งค์น้ำจากหนังสือพิมพ์ 



อาจารย์ได้ให้การอ่านหนังสือพิมพ์แผ่นเล็ก 1 ฉบับและแผ่นใหญ่จำนวน 20 แผ่นคู่
โดยอาจารย์ได้กำหนดให้สร้างแท๊งค์น้ำที่มีความสูง 24 นิ้วเมื่อสร้างเสร็จแล้วให้นำพานไปวางไว้ข้างบนและนับ 1 ถึง 10 โดยห้ามให้แท๊งค์น้ำนั้นล้มลงมา


คำศัพท์
Geography ภูมิศาสตร์ Art ศิลปะ
Math คณิตศาสตร์Water source แหล่งน้ำDam เขื่อน


วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่6🌎🌳🌞🌈


กิจกรรมที่1


 

อาจารย์พูดคุยเรื่อง
ทักษะทางวิทยาศาสตร์

1. ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่
ตา👉ดู
   หู👉ฟัง
      จมูก👉ดมกลิ่น
     ลิ้น👉ชิมรส
   กาย👉สัมผัส

2. ทักษะการวัด หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดปริมาณสิ่งของต่าง ๆ ออกเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ และจะต้องมีจุดมุ่งหมายในการวัดว่า จะวัดอะไร วัดทำไม จะใช้อะไรวัด และวัดอย่างไร

3. ทักษะการใช้ตัวเลข (การคำนวณ) หมายถึง การนำเอาตัวเลขที่ได้จากการวัด การสังเกต
การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การหาค่าเฉลี่ย การยกกำลัง เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ในการตีความหมายและลงข้อสรุปต่อไป ตัวเลขที่นำมาคำนวณโดยทั่วไปเป็นตัวเลขที่ได้จากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาค่าปริมาณของสิ่งหนึ่ง เช่น ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร อุณหภูมิ หรือเวลา

4. ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง การจำแนกหรือจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 

5. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา สเปส หมายถึง ที่ว่างหรืออวกาศ สเปสของวัตถุ หมายถึง ทางที่วัตถุนั้นครองที่หรือกินอยู่ และมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปสของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง (หรือความหนา) 
การใช้ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสเปส หมายถึง ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิต
2. สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏในกระจกเงาว่าจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร 
3. ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง
4. การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับเวลา

6. ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล การสื่อความหมาย หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การจัดหมู่ หรือการคำนวณหาค่าใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้และหรือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ ดีขึ้น การสื่อความหมายข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาเสนอและแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นได้ดีขึ้น โดยการนำเสนอได้หลายรูปแบบ คือ
1) โดยการพูดปากเปล่าหรือเล่าให้ฟัง
2) โดยการเขียนเป็นรายงาน
3) โดยเขียนเป็นตาราง แผนภูมิ แผ่นภาพ แผนผัง วงจร กราฟ แผนสถิติ สมการ หรือการใช้สัญลักษณ์
4) โดยวิธีผสมผสานหลายวิธีตามความเหมาะสม

7. ทักษะการลงความคิดเห็น หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ไปสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อสรุปหรืออธิบายปรากฏการณ์หรือวัตถุนั้น

8. ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ความรู้ที่เป็นความจริง หลักการ กฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น ๆ มาช่วยทำนายหรือคาดคะเน การพยากรณ์อาจทำได้ 2 แบบ คือ การพยากรณ์ในขอบเขตของข้อมูล และการพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล

9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน หมายถึง การคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบหรือเป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้

10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดได้ ความสามารถที่แสดงว่าเกิดทักษะแล้ว คือ สามารถกำหนดความหมายและขอบเขตของคำหรือ ตัวแปรต่าง ๆ ให้สังเกตและวัดได้

11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และ ตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ

ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ หรือสิ่งที่เราต้องการทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่

ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุเปลี่ยนไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลจะเปลี่ยนตามไปด้วย

ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลองด้วย ซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือน ๆ กัน มิเช่นนั้นอาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนความสามารถที่แสดงว่าเกิดทักษะแล้ว คือ ชี้บ่งและกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมได้



12. ทักษะการทดลอง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบของสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือความสามารถในการดำเนินการตรวจสมมติฐานโดยการทดลอง โดยเริ่มตั้งแต่



13. ทักษะการแปรความหมายข้อมูล การแปรความหมายข้อมูลหมายถึงการตีความหมายหรือการบรรยายลักษณะเพื่อสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด


กิจกรรมที่2


อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาอ่านเพื่อศึกษาข้อมูลใบความรู้ 
"บ้านวิทยาศาสตร์น้อย"
เรื่อง แสง สี และการมองเห็น 

พร้อมเลือกมา 
1 การทดลอง ที่จะใช้ทดลองให้เพื่อนในชั้นเรียนดู








คำศัพท์
The grid ตาราง
Glass กระจก
Phenomenon ปรากฏการณ์
Position ตำแหน่ง
Temperature อุณหภูมิ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย

 ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนตอบคำถามและเรื่องที่ตนเองสงสัย

ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันเข้าเรียนช้า ทำให้เพื่อนๆต้องรอ